HTMS Songkla (No 33) HTMS Thonburi, a.k.a Dhonburi (No 34).
The HTMS Thonburi was 76 m x 14 m. The torpedo boat wreckss at Koh Chang HTMS Chonburi and HTMS Songkla were 67 x 6,5 m.
[ Koh Chang ]
depth 5-12meters; air diving
HTMS Thonburi and HTMS Songkra
17 มกราคม พุทธศักราช 2484 เข้าทำการรบกับ
หมู่เรือรบฝรั่งเศสที่เกาะช้าง ในกรณีพิพาทอินโดจีน
ฝรั่งเศส ร.ล.ธนบุรี ถูกหมู่เรือรบฝรั่งเศสยิง และ
แล่นมาจมที่แหลมงอบ แล้วได้กู้ขึ้นมาในภายหลัง
Thai Translation:- ‘On the 17 January 2448 Buddhist Era (1941 CE) came to fight with a group of French Boats at Koh Chang.
During the subsequent actions, suffered shots from the French Boats and came to sink at the Jorb Headland( Koh Chang). It was later raised.’
On 17th January 1941 French forces composed by light cruiser Lamotte-Piquet and gunboats Dumont d´Urville, Amiral Charner, Thahure and Marne under overall command of Captain Bérenger closed in on Thai forces anchored south of Koh Chang. Below an image from Thai historical archives compares the size of the Thai vessel Thonburi(white) with the very much larger French vessel Lamontte-Picquet(black) involved in this battle. From the outset, there could have been There could little doubt about the eventual outcome of the battle.
The first shots were fired from HTMS Songkla (No 33) 06H14 followed by HTMS Chonburi (No 34). The torpedoboats were desperately trying to raze steam and could not move or use their torpedoes.
Both torpedo boats received several hits and caught fire. They were abandoned 06H45. HTMS Songkla sunk 06H53 and HTMS Chonburi 06H55.
HTMS Songkla lost two men and HTMS Chonburi 14 men.
+++
My thanks to Khun Suphakorn P [[email protected]] of Loxley Information systems Bangkok, for researching this Thai Language resource and for shedding much light onto the events as they actual happened as they were reported by Thai sources, which are entirely missing from all western historical archives.
วันที่ ๑๗ มกราคม วันสดุดีวีรชน กองทัพเรือ |
วันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นวันที่มี การรบทางเรือระหว่างไทยกับฝรั่งเศส อันนับว่าเป็นยุทธนาวีครั้งสำคัญยิ่ง ของกองทัพเรือไทย กองทัพเรือจึงได้ถือเอาวันที่ ๑๗ มกราคม ของทุกปี เป็นวันสดุดีวีรชนกองทัพเรือ เพื่อแสดงความเคารพและรำลึกถึง วีรกรรมของทหารหาญ แห่งราชนาวีไทย ที่ได้สละชีวิตเป็นชาติพลี เพื่อรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติไว้ จวบจนปัจจุบัน โดยในครั้งนั้น ฝรั่งเศส ส่งกำลังเข้ารุกล้ำน่านน้ำไทย บริเวณเกาะช้าง จังหวัดตราด รวมทั้งสิ้น ๗ ลำ เฉพาะเรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียว ก็มีระวางขับน้ำถึง ๙,๓๕๐ ตัน นอกจากนั้น ยังมีเรือสลุป ๒ ลำ และเรือปืนอีก ๔ ลำ ขณะที่กองทัพเรือไทย มีกำลังรบเพียง ๓ ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และ เรือหลวงชลบุรี จึงเสียเปรียบในด้านกำลังรบ อย่างไม่อาจจะเทียบกันได้ แต่บรรพบุรุษทหารเรือ ยังคงมีขวัญและกำลังใจที่ดี และปฏิบัติหน้าที่ในการรบ ด้วยความกล้าหาญ ตราบจนเรือหลวงของไทยทั้ง ๓ ลำ ต้องจมลง พร้อมกับนายทหาร และทหารประจำเรือ ที่เสียชีวิตไปถึง ๓๖ นายนอกจากนี้ ประวัติการรบทางเรือของราชนาวี ยังมีการรบครั้งสำคัญ ที่บรรพบุรุษทหารเรือ ได้เข้าปกป้อง อธิปไตยของชาติ อย่างเต็มกำลังความสามารถ คือ การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๒ เรือรบฝรั่งเศส ๒ ลำ ได้ตีฝ่าเข้ามา ในแม่น้ำเจ้าพระยา กำลังทางเรือของเรา อันประกอบด้วย เรือหลวงมกุฎราชกุมาร เรือหลวงนฤเบนทร์บุตรี เรือหลวงทูลกระหม่อม เรือหลวงหาญหักศัตรู และกำลังพลที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และป้อมผีเสื้อสมุทร ได้ร่วมกันปกป้องแผ่นดิน เพื่อรักษาเอกราช อย่างสุดความสามารถ ในครั้งนี้ ทหารเรือเสียชีวิตไป ๑๒ นายในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ กองทัพเรือ ได้ส่งเรือไปร่วมสมทบ กับกำลังทางเรือ ของสหประชาชาติ ในสงครามเกาเหลี ทำให้เราต้องสูญเสีย เรือหลวงประแสลำแรกไป พร้อมกับชีวิตของทหารประจำเรือ ๒ นายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ กองทัพเรือ ได้สูญเสีย เรือหลวงสมุย ลำแรก และทหารประจำเรือ ๓๑ นาย เนื่องจากถูกโจมตี ด้วยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำ ขณะเดินทาง อยู่นอกฝั่งกลันตัน เพื่อลำเลียงน้ำมัน จากสิงคโปร์มายังประเทศไทย นอกจากนี้ ยังต้องสูญเสียผู้กล้าหาญ ในการต่อสู้ กับเครื่องบินของข้าศึก ที่มาโจมตีฐานทัพเรือสัตหีบ ไปอีก ๗ นาย
ในการปฏิบัติหน้าที่ ป้องกันประเทศชาติ จากการคุกคามของคอมมิวนิสต์ กองทัพเรือ ต้องสูญเสียกำลังพลไป มิใช่น้อย เนื่องมาจากความเสียเปรียบ ทางด้านภูมิประเทศ และขนาดกำลังรบ ได้แก่ การปราบปรามผู้ก่อการร้าย ตามแผนยุทธการสามชัย ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ สูญเสียทหารหาญไป ๕ นาย วีรกรรมแห่งดอยผาจิ จังหวัดเชียงราย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ ต้องสูญเสียผู้กล้าหาญ จากหน่วยปฏิบัติการ ตามลำแม่น้ำโขงอีก ๑ นาย และวีรกรรมที่ดอนสังคี ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ กองทัพเรือ ต้องสูญเสียผู้กล้าหาญไป อีก ๒ นาย บรรพบุรุษทหารเรือผู้กล้าหาญ ต่างก็ได้ยอมสละชีวิตอันมีค่าของตน เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทย ให้ดำรงความเป็นเอกราช ตราบเท่าทุกวันนี้ วีรกรรมของผู้กล้าหาญเหล่านี้ ได้นำเกียรติประวัติอันดีงาม มาสู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ ควรแก่การเทิดทูนไว้ ในฐานะวีรชนโดยแท้For Thai researchers the following links point to the Royal Thai Navy online archive for this battle. |